คำถาม เทคนิคการใช้งาน

Frequenty Asked Questions

Q1. การแก้ไข ผิวคอนกรีต หรือผนังปูนฉาบที่ไม่เรียบ-เป็นคลื่นหรือมีรู-ตามด  
A1. ใช้ปูนสำเร็จ DURAMIX ที่ใช้สำหรับงานแต่งผิว (Skim Coat) แก้ไขผิวคอนกรีตที่ไม่เรียบมีรู-ตามดหรือผนังปูนฉาบที่ขรุขระไม่เรียบและเป็นคลื่น
1. ในกรณี ที่แต่งผิวที่ไม่เรียบเป็นคลื่นและฉาบบางๆ 1-2 มม.
ใช้ปูน Skim Coat DURAMIX SC-333 สีเทาปูน หรือ SC-335 สีขาว ที่มีความละเอียด 325 mesh (0.04 mm)
ฉาบแต่งผิว 2 รอบโดยใช้เกรียงเกรียงเหล็กหน้าหว้าง ที่มีความอ่อนบาง/ พริ้ว เพื่อจะลบรอยเกรียงและฉาบได้ง่าย
1.1 รอบแรก  เป็นการฉาบรองพื้น (Base Coat) เพื่อกลบความขรุขระ และเพื่อให้เรียบขึ้นในระดับหนึ่ง 
      (แต่ผิวหน้ายังไม่เรียบและสวยเพียงพอ) อาจจะมีรอยเกรียงอยู่บ้าง ทิ้งให้แห้งหมาดๆก่อนฉาบรอบที่สอง
1.2 รอบที่สอง  เป็นการแต่งผิวหน้า (Top Coat/Finished Coat) เพื่อลบรอยเกรียงและทำให้ผิวหน้าเรียบเนียน
      (โดยไม่ต้องขัดกระดาษทราย)
2. ในกรณี ที่แต่งผิวคอนกรีตที่มีรู-ตามดและไม่เรียบ-เป็นคลื่น และฉาบหนา กว่า 2 มม.
2.1 รอบแรก เป็นการฉาบรองพื้น (Base Coat)
 

- ใช้ปูน SC-334 ประเภทที่ไม่ส่วนผสมของทรายที่มีความละเอียด 200 mesh (0.07 mm) ฉาบรองพื้นทิ้งให้แห้งหมาดๆก่อนฉาบแต่งผิวหน้า; หรือ
- ใช้ปูน SC-334 ประเภทที่มีส่วนผสมของทรายละเอียด 60 mesh (0.25 mm) ปนอยู่ ฉาบรองพื้นทิ้งให้แห้งหมาดๆ ก่อนฉาบแต่งผิวหน้า

2.2 รอบที่สอง

 

เป็นการแต่งผิวหน้า  (Top Coat/Finished Coat) เพื่อลบรอยเกรียงและทำให้ผิวหน้าเรียบเนียน (โดยไม่ต้องขัดกระดาษทราย) ด้วยปูน Skim Coat DURAMIX SC-333 สีเทาปูน หรือ SC-335 สีขาว ที่มีความละเอียด 325 mesh (0.04 mm)
 
Q2. การแก้ไขผิวผนังปูนฉาบที่แตกร้าว/แตกลายงา  
A2.ใช้ปูนสำเร็จ DURAMIX SC-332, 333, 334, 335 ที่ใช้สำหรับงานแต่งผิว (Skim Coat) ซ่อมรอยแตกลายงาหรือในกรณีที่รอยแตกร้าวใหญ่กว่ารอยแตกลายงาให้ใช้ปูนดังกล่าวควบคู่กับน้ำยา C-BONDING / DURABONDER หรือ
PU-Sealant อุดรอยแตกร้าว ก่อนฉาบทับด้วยปูน ในการแก้ไขผิวผนังปูนฉาบที่แตกร้าว/ลายงา1. ในกรณีที่รอยแตกลายงาค่อนข้างเล็ก
1.1 ต้องการให้ผิวเรียบเหมือนผิวสกิมโค้ท
  • ใช้ปูน SC-333 ฉาบทับรอยแตกลายงาหลายๆ รอบจนกว่าจะไม่เห็นรอยแตกลายงา
1.2 ต้องการให้มี Texture เหมือนพื้นผิวเดิมที่มี Texture ไม่เรียบซึ่งฉาบด้วยปูน+ทราย (ปูนสำเร็จที่มีทรายหรือหินฝุ่น)
  • ใช้ปูน SC-334 (ประเภทที่มีส่วนผสมของทราย) ฉาบทับเพื่อลบรอยแตกลายงาจนไม่เห็นรอยแตกลายงา
  • หลังจากลบรอยแตกลายงาแล้ว จึงใช้ปูน SC-334 (ประเภทที่มีส่วนผสมของทราย) ผสมกับทรายละเอียดหรือปูนสำเร็จประเภทเดียวกับที่ใช้ฉาบอยู่เดิมฉาบทับหน้าจะได้ผิวปูนฉาบที่ซ่อมแซมแล้วและมี Texture เหมือนเดิม
2. ในกรณีที่รอยแตกร้าวค่อนข้างใหญ่ กว่ารอยแตกลายงา
2.1 เปิดร่องแตกให้กว้างขึ้น ในรูป V-Shape ใช้ C-BONDING หรือ DURABONDER ผสมกับปูน SC-333/ 334 : น้ำ ในอัตราส่วน 1:1:0.25 ปั่นให้เข้ากันแล้วอุดรอยแตก หรือยา/อุดรอยแตกร้าวด้วย PU Sealant ทิ้งให้แห้ง
2.2 ฉาบทับตามขั้นตอนที่ระบุในข้อ A2 (1.1) & (1.2)
 
Q3. การฉาบบาง 3 มม.และได้ผิวเรียบ-เนียนเหมือนงานแต่งผิว (Skim Coat)บนผนังอิฐมวลเบาผิวผนังที่ได้จะสวยงามกว่าได้ต้นทุนที่ถูกกว่าและงานเสร็จเร็วกว่าเมื่อเทียบกับการฉาบหนา 1.25 ซม.  
A3. การก่ออิฐและการฉาบบาง 3 มมบนผนังอิฐมวลเบา 
วันที่ 1 ก่ออิฐให้ตรงและได้ฉากโดยใช้ปูนกาวก่อให้บางและปาดปุนกาวให้เต็มความหนาของอิฐก่อให้ถึง ½ ของความสูงของผนังหรือถึงระดับที่ต้องเททับหลังแล้วให้หยุดก่อระหว่างทิ้งผนังก่อข้ามวันให้ปูนก่อแช็ง/เซ็ทตัวสามารถเริ่มก่ออิฐที่ผนังอื่น
วันที่ 2 ทำเช่นเดียวกับวันที่ 1 และขณะเดียวกันก็มีคนงานชุดที่มาทำเสาเอ็น-ทับหลังสำหรับงานก่ออิฐที่ทำไว้ในวันที่ 1
วันที่ 3 ทำเช่นเดียวกับวันที่ 2 และขณะเดียวกันก็มีคนงานชุดที่มาทำเสาเอ็น-ทับหลังสำหรับงานก่ออิฐที่ทำไว้ในวันที่ 2 แกะแบบ (Form Work) ที่ทำเสาเอ็น-ทับหลังในวันที่ 2
วันที่ 4
 
- เริ่มก่ออิฐให้ตรงและได้ฉากโดยใช้ปูนกาวก่อให้บางและปาดปุนกาวให้เต็มความหนาของอิฐครึ่งบนของผนังที่เททับหลังไว้และจนเกือบสุดความสูงของผนังโดยเว้นไว้สำหรับรองด้วยแผ่นโฟมหนาประมาณ 2 ซมระหว่างกำแพงกับพื้นชั้นบนของผนัง
- ก่ออิฐเป็นลำดับและขั้นตอนที่ระบุไว้ข้างต้นจะได้ผนังที่ตรงและไม่ล้มดิ่ง
หมายเหตุแบบไม้ที่จะทำเสาเอ็น-ทับหลัง ควรใช้ไม้อัดซ้อนกัน 2 ชั้น ให้ไม้อัดด้านนอกแนบเสมอกับอิฐและไม้อัดชั้นใน
 (หนา 4 มม.) เมื่อเทปูนแล้วแกะแบบออก ผิวหน้าปูนจะต่ำ/ยุบเข้าไป 4 มม.
- เติมปูนปูนฉาบหรือปูนก่ออิฐมวลเบาที่เสาเอ็น-ทับหลัง (ที่ยุบเข้าไปจากผนังก่ออิฐมวลเบา 4 มม.) ให้เสมอกับผนังก่ออิฐ และเติมปูนตามแนวก่อให้ไม่เห็นแนวก่อ (เพื่อจะได้ไม่เห็นแนวก่ออิฐเมื่อปูนที่ใช้ฉาบบาง 3 มม.แห้ง)
- ฉาบบางด้วยปูนสำเร็จ SC-333/334 ตามขั้นตอนการฉาบบางทั่วไป

 

ตารางเปรียบเทียบการฉาบบาง มม.อิฐมวลเบาด้วย DURAMIX SC-334
และการฉาบหนา 1.25 ซม.(ปูนฉาบอิฐมวลเบาทั่วไป)

คุณสมบัติ ปูนฉาบมวลเบาทั่วไป1.25 cm ปูนฉาบบาง SC-3343.0 mm
1.Compressive Strength 28 วัน 40-50 ksc 43 ksc
2.Bonding Strength 28 วัน 1 ksc 21 ksc
3.Thickness 1.25 cm 0.3 cm
4.สาร Bonding น้อยกว่า มากกว่า
5.สารอุ้มน้ำ/แห้งช้า มีน้อยมาก มีมากกว่า
6.สารป้องกันการหดตัว ไม่มี มี
7.Workabilty น้อย มากกว่า
8.Weight/ sq.m 20 kg 5 kg
9.Coverage Area/ Bag 2 sq.m/ 40 kg/ bag 4 sq.m/ 20 kg/ bag
10.Material Cost/ Bag 74 Baht/ 40 kg 110 Baht/ 20 kg
11.Material Cost/ sq.m       37 Baht/ sq.m 27 Baht/ sq.m
12. Surface Finishing Rough Surafce Fine/Dense/Smooth Surface
13. Painting Higher Consumption Less Consumption
14. Labor Cost for plastering 65 Baht/ sq.m 50 Baht/ sq.m
15.Est.Cost (Material+Labor)
      for plastering
Average 102 Baht/ sq.m Average 77 Baht/ sq.m
16.Cost Saving ปูนฉาบบาง SC-334 ประหยัดกว่า 25 Baht/Sq.M/การฉาบผนัง 1 ด้าน
หมายเหตุ1. มีชิ้นงานตัวอย่างให้ดูงานฉาบบาง SC-3342. Coverage Area การฉาบบางด้วย SC-334 ได้ 4-5 ตร.ม./ถุง (ใช้ค่าน้อย 4 ตร.มในการคำนวณ)3. Coverage Area การฉาบหนาได้ 2 ตร.ม./ถุง เป็นค่าทั่วไปที่ใช้กันอยู่
ข้อดีในการฉาบบางอิฐมวลเบา1. ประหยัดต้นทุน วัสดุและค่าแรงในการฉาบบางด้วย SC-334 ประหยัดกว่าการฉาบหนาด้วยปูนฉาบอิฐมวลเบาทั่วไป
ในกรณีไม่เพิ่มความหนาอิฐ ประหยัด ค่าวัสดุ+ค่าแรง (25x ฉาบ 2 ด้าน/ อิฐ1ตร.ม)      50 บาท/ตร.ม
ในกรณีที่ผนังติดวงกบหนา 9.5 ซม.ให้ใช้อิฐหนา 9.0 ซม.จะฉาบบางได้ด้านละ 2.5 มม.
ซึ่งราคาอิฐ 9.0 ซม.แพงกว่าอิฐ 7.5 ซม.ประมาณ
  20 บาท/ตร.ม
ในกรณีที่เพิ่มความหนาอิฐ 7.5 เป็น 9.0 ซม.การฉาบบางจะประหยัดกว่าฉาบหนา   30 บาท/ตร.ม
2. ฉาบบางสวยกว่าการฉาบหนา (ผิวเรียบเนียน ปูน SC- 334 ส่วนผสมละเอียดกว่า) smooth and better appearanceการฉาบบางทำให้ผนังเรียบกว่า เนื่องจาก particle size ละเอียดกว่าปูนฉาบอิฐมวลเบาทั่วไป (0.07 vs.0.6 มม.)ผิวฉาบบางที่ละเอียดทำให้งาน finishing ไม่ต้อง skim coat ซ้ำอีกครั้งเมื่อฉาบด้วยปูนฉาบอิฐมวลเบาทั่วไปที่มีผิวหยาบ3. สีที่ทาทับบนผิวปูนฉาบบางที่เนื้อละเอียดจะสวยงามและประหยัดสีกว่าผิวของผนังปูนฉาบที่หยาบ4. ฉาบบางขยะน้อยกว่าการฉาบหนา (ไม่ต้องปาดด้วยสามเหลี่ยมเศษปูนที่ตกหล่นที่พื้นน้อยกว่า) less waste disposal เสียค่าขนขยะน้อยกว่าสถานที่หน่วยงานสะอาดกว่า ลดปริมาณงานเปียก               
5. น้ำหนักของผนังก่ออิฐ-ฉาบปูนชนิดฉาบบางบนอิฐ 7.5 ซม.น้อยกว่าการฉาบหนา   30 กก/ตร.ม
 อิฐมวลเบา 9 ซม.น้ำหนัก ประมาณอิฐมวลเบา 7.5 ซม.น้ำหนักประมาณ 56 กก/ตร.ม     
46 กก/ตร.ม  
อิฐมวลเบา 9 ซม.น้ำหนัก มากกว่า อิฐมวลเบา 7.5 ซม.   10 กก/ตร.ม
น้ำหนักของผนังฉาบบาง 3 มม.ด้วยปูน SC-334 บนอิฐมวลเบาหนา 9.0 ซม.
น้อยกว่า การฉาบหนา 1 ซม.ด้วยปูนฉาบอิฐมวลเบาทั่วไป บนอิฐหนา 7.5 ซม.
  20 กก/ตร.ม
ลดน้ำหนักของอาคารที่ผนังเบาลง!
 
Q4. การฉาบบาง 2-3 มม.และได้ผิวเรียบ-เนียนเหมือนงานแต่งผิว (Skim Coat) บนผนังอิฐบล็อกผิวผนังที่ได้จะสวยงามกว่าได้ต้นทุนที่ถูกกว่าและงานเสร็จเร็วกว่าเมื่อเทียบกับการฉาบหนา1.5 ซม.  
A4. ขั้นตอนคล้ายกับการฉาบบางอิฐมวลเบา แต่เพิ่มขั้นตอนการปั่นเรียบด้วยปูน+ทราย เพื่ออุดรู-ช่องว่าง แล้วเติมปูนเพื่อทำให้ได้ดิ่ง-ฉาก (ถ้าใช้อิฐที่มีระบบร่อง-ลิ้นล็อกกันระหว่างก้อน (Interlocking Block) จะก่อได้ตรงเพราะลิ้น-ร่องจะล็อกกันทำให้ก่ออิฐได้ดิ่ง)

การก่ออิฐและการฉาบบาง 3 มมบนผนังอิฐบล๊อก
วันที่ 1 ก่ออิฐให้ตรงและได้ฉาก ก่อให้ถึง ½ ของความสูงของผนังหรือถึงระดับที่ต้องเททับหลังแล้วให้หยุดก่อระหว่างทิ้งผนังก่อข้ามวันให้ปูนก่อแช็ง/เซ็ทตัวสามารถเริ่มก่ออิฐที่ผนังอื่น
วันที่ 2 ทำเช่นเดียวกับวันที่1และขณะเดียวกันก็มีคนงานชุดที่มาทำเสาเอ็น-ทับหลังสำหรับงานก่ออิฐที่ทำไว้ในวันที่ 1
วันที่ 3 ทำเช่นเดียวกับวันที่ 2 และขณะเดียวกันก็มีคนงานชุดที่มาทำเสาเอ็น-ทับหลังสำหรับงานก่ออิฐที่ทำไว้ในวันที่ 2 แกะแบบ (Form Work) ที่ทำเสาเอ็น-ทับหลังในวันที่ 2
วันที่ 4
 
- เริ่มก่ออิฐให้ตรงและได้ฉาก โดยใช้ปูนกาวก่อให้บางและปาดปูนกาวให้เต็มความหนาของอิฐครึ่งบนของผนังที่เททับหลังจนเกือบสุดความสูงของผนังโดยเว้นไว้สำหรับรองด้วยแผ่นโฟมหนาประมาณ 2 ซม. ระหว่างกำแพงกับพื้นชั้นบนของผนัง
- ก่ออิฐเป็นลำดับและขั้นตอนที่ระบุไว้ข้างต้นจะได้ผนังที่ตรงและไม่ล้มดิ่ง- ด้วยปูนฉาบบาง SC-332/333/334 ใช้เกรียงก่อ-ฉาบเติมปูนดังกล่าวที่เสาเอ็น-ทับหลัง(ที่ยุบเข้าไปจากผนังก่ออิฐบล๊อก 4 มม) ให้เสมอกับผนังก่ออิฐ
หมายเหตุ: แบบไม้ที่จะทำเสาเอ็น-ทับหลังควรใช้ไม้อัด ซ้อนกัน 2 ขั้น ไม้อัดด้านนอกให้แนบเสมอกับอิฐและไม้อัดชั้นใน(หนา 4 มม) เมื่อเทปุนและแกะแบบออกผิวหน้าปูนจะต่ำ/ยุบเข้าไป 4 มม.- เติมปูน+ทรายตามแนวเสาเอ็น-ทับหลังให้เสมอแนวก่อแล้วใช้ปูน+ทรายปั่นเรียบตามผนังที่เป็นรู-ตามด-ร่องให้เรียบเสมอคล้ายกับกรรมวิธีก่อนชักร่องโชว์แนวก่ออิฐ (เพื่อจะได้ไม่เห็นแนวก่ออิฐ เมื่อปูนที่ใช้ฉาบบาง 3 มมแห้ง)ทิ้งไว้ให้แห้งหมาดๆ ก่อนฉาบบาง
- ฉาบบางด้วยปูนสำเร็จ SC-333/334 ตามขั้นตอนการฉาบบางทั่วไป

ตารางเปรียบเทียบการฉาบบางอิฐบล๊อกด้วย DURAMIX SC-332
และการฉาบหนาด้วยปูนสำเร็จทั่วไป (ปูน + ทราย/หินฝุ่น)

คุณสมบัติ ปูนสำเร็จฉาบอิฐบล๊อก1.25 cm ปูนฉาบบาง SC-3323.0 mm
1. Compressive Strength 28 วัน 40-50 ksc 43 ksc
2. Bonding Strength 28 วัน 1 ksc 21 ksc
3. Thickness 1.25 cm 0.25 cm
4. สาร Bonding ไม่มี มากกว่า
5. สารอุ้มน้ำ/แห้งช้า มีน้อยมาก มีมากกว่า
6. สารป้องกันการหดตัว ไม่มี มี
7. Workabilty น้อย มากกว่า
8. Weight/ sq.m 20 kg 4 kg + 5 kg (ปุนสำเร็จ/ปูน+ทรายปั่นเรียบ) ก่อนแต่งผิวบางด้วย SC-334
9. Coverage Area/ Bag 2.5 sq.m/ 50 kg/ bag 5 sq.m/ 20 kg/ bag
10. Material Cost/ Bag 75 Baht/ 50 kg 100 baht/ 20 kg
11. Material Cost/ sq.m 30 Baht/ sq.m DURAMIX SC-332
- 20 Baht/ sq.m (ประมาณ3 กก)
ปูนสำเร็จ หรือปูน+ทราย-  5 Baht/ sq.m (ประมาณ 5 กก)
12. Surface Finishing Rough Surafce Fine/ Dense/ Smooth Surface
13. Painting Higher Consumption Less Consumption
14. Labor Cost for plastering 65 Baht/sq.m 50 Baht/ sq.m
15. Est.Cost (Material+Labor) for plastering Average 95 Baht/sq.m Average 75 Baht/ sq.m
16. Cost Saving ปูนฉาบบาง SC-332 ประหยัดกว่า 20 Baht/ sq.m/ การฉาบผนัง 1 ด้าน

ข้อดีในการฉาบบางอิฐบล๊อก1.การปั่นเรียบด้วยปุน+ทรายแล้วฉาบแต่งหน้าด้วย SC-332 ประหยัดต้นทุนกว่าการฉาบหนาด้วยปูนสำเร็จทั่วไป
กรณีไม่เพิ่มความหนาอิฐประหยัดค่าวัสดุ+ค่าแรง-เสร้จเร็วกว่าการฉาบหนา 1.5 ซมด้วยปูนสำเร็จ(หรือปุน+ทราย)ที่ต้องปั่น-ลงฟอง-     - ในกรณีที่ผนังติดวงกบหนา 9.5 ซม.จะต้องฉาบหนาประมาณข้างละ 1.25 ซมฉาบรองพื้นด้วยปุนสำเร็จ(หรือปุน+ทราย)แล้วปาดด้วยสามเหลี่ยมให้ได้ฉากทิ้งให้หมาดแล้วแต่งผิวด้วย SC-332ราคางานฉาบ 2 วิธี:–(1) ฉาบด้วยปุนสำเร็จ (ปุน+ทราย) ปาดด้วยสามเหลี่ยมแล้วปั่นลงฟอง(2) ฉาบด้วยปูนสำเร็จ (ปูน+ทราย)ปาดด้วยสามเหลี่ยมโดยไม่ต้องปั่น-ลงฟองแล้วแต่งผิวด้วย SC-332ราคาวัสดุ+แรงใกล้เคียงกัน แต่วิธีที่ (2) งานเสร็จเร็วกว่าและ ผิวสวยงามกว่า2. ฉาบบางสวยกว่าการฉาบหนา (ผิวเรียบเนียน ปูน SC- 332 ส่วนผสมละเอียดกว่า) smooth and better appearanceการฉาบบางทำให้ผนังเรียบกว่า เนื่องจาก Particle size ละเอียดกว่าปูนฉาบสำเร็จทั่วไป (0.07 VS.0.6 มม)ผิวฉาบบางที่ละเอียดทำให้งาน Finishing ไม่ต้อง Skim Coat ซ้ำอีกครั้ง3. สีที่ทาทับบนผิวปูนฉาบบางที่เนื้อละเอียดจะสวยงามและประหยัดสีกว่าผิวของผนังปูนฉาบที่หยาบ4. ฉาบบางขยะน้อยกว่าการฉาบหนา (ไม่ต้องปาดด้วยสามเหลี่ยมเศษปูนที่ตกหล่นที่พื้นน้อยกว่า) less waste disposal เสียค่าขนขยะน้อยกว่าสถานที่หน่วยงานสะอาดกว่าลดปริมาณงานเปียก5. น้ำหนักของผนังก่ออิฐ-ฉาบปูนชนิดฉาบบางบนอิฐบล๊อกน้อยกว่าการฉาบหนา ประมาณ 30 กก./ตร.ม/ผนังฉาบ 2 ด้าน
ลดน้ำหนักของอาคารที่ผนังเบาลง! 
 
Q5. การป้องกันและแก้ไขผนังปูนฉาบที่เป็นคลื่น  
A5. ปํญหาผนังปูนฉาบ (ปูน+ทราย หรือ ปูนผสมเสร็จ)ผิวที่ฉาบเป็นคลื่นเกิดจาก 2 สาเหตุหลัก:—
1. แรงกดที่เกิดจากการปั่นด้วยเกรียง-ลงฟองไม่สม่ำเสมอเมื่อผิวของปูนฉาบแห้งจะทำให้ผิวไม่เรียบ-ไม่สม่ำเสมอถ้าทาสีจะเห็นผิวที่เป็นคลื่นชัดเจน (บริเวณที่ทำงานยาก เช่นผนังภายนอกพบปัญหานี้บ่อยมาก)
2. การกดเม็ดทรายด้วยเกรียงขัดมันของผนังปูน-ฉาบที่หมาดๆเพื่อพยามทำให้ผิวผนังปูนฉาบเรียบคล้ายกับการแต่งผิวด้วยปูน Skim Coat แต่โดยธรรมชาติแล้วน้ำหนักมือในการกดเม็ดทรายลงบนผนังปูนฉาบ กดหนัก-เบาไม่เท่ากันจึงทำให้วิธีการกดเม็ดทรายนี้จะได้ผนังที่ไม่มีเม็ดทรายแต่ผิวที่ได้จะเป็นคลื่น
วิธีแก้ไขปัญหา 2 ข้อดังกล่าว:
1. ฉาบด้วยปูนสำเร็จ (หรือ ปูน+ทราย) ให้ได้ความหนาที่ต้องการ ปล่อยให้ปูนฉาบหมาดพอเหมาะแล้วปาดด้วยสามเหลี่ยม เพื่อให้ได้ดิ่ง-ฉาก (โดยไม่ต้องปั่นด้วยเกรียงไม้/เกรียงพลาสติก-ไม่ต้องลงฟองและไม่ต้องกดเม็ดทรายด้วยเกรียงเหล็ก ทำให้ไม่เสียเวลา-แรงงานและลดขั้นตอนดังกล่าว)
2. ทิ้งให้แห้งหรือ หมาดๆ ก่อนทำการแต่งผิวด้วยปูน Skim Coat ด้วย DURAMIX SC-332/333/334 ได้ผิวสีปูน
หมายเหตุในกรณีที่ผิวปูนฉาบที่ปาดด้วยสามเหลี่ยมทิ้งไว้จนปูนฉาบแห้งสนิทสามารถใช้ SC-335 ซึ่งเป็นซีเมนต์สีขาวฉาบแต่งผิวผนังให้เป็นสีขาวได้
 
Q6. ทำย่างไรจึงจะทำให้งานฉาบปูน (Plastering) และแต่งผิว (Skim Coat) ที่เป็นงานเปียกและเป็นงาน finishing เสร็จเร็วขึ้นโดยคุณภาพสวยงามคงเดิม  
A6.โดยปกติและตามที่ปฎิบัติทั่วไป จะแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน:—
1. ฉาบชั้นแรกด้วยปูนสำเร็จ(ปูน+ทราย)ให้ได้ความหนาที่ต้องการทิ้งให้หมาดปาดด้วยสามเหลี่ยมให้ได้ดิ่ง-ฉากแล้วปั่นด้วยเกรียง ลงฟองน้ำ กวาดด้วยไม้กวาด
2. เมื่อปูนที่ฉาบไว้ในข้อ (1) แห้ง จึงทำการแต่งผิวด้วยปูน Skim Coat
ทำการลดขั้นตอนงานฉาบปูนและงานแต่งผิว-Skim Coat เพื่อให้งานเสร็จเร็วขึ้นโดยรวม 2 ขั้นตอน: 1) ฉาบปูนบนผนังก่ออิฐ (2) แต่งผิว-Skim Coat ดังกล่าวเข้าด้วยกัน
 
เมื่อฉาบด้วยปุนสำเร็จ(ปูน+ทราย)ให้ได้ความหนาที่ต้องการแล้วจึงปาดด้วยสามเหลี่ยมเพื่อให้ได้ดิ่ง-ฉาก แล้วทิ้งให้แห้งหมาดๆโดยไม่ต้องปั่น-ลงฟอง-กวาดด้วยไม้กวาดไม่ต้องทิ้งให้แห้งไม่ต้องรอข้ามวันโดยการใช้นิ้วทดสอบดูเมื่อกดแล้วไม่ยุบให้ทำการแต่งผิว(Skim Coat) ด้วยปูน SC-332/333/334 จะได้ผิวงาน finishing ที่เรียบ-เนียนสวยงามเป็นการย่นระยะเวลาและขั้นตอนการทำงาน เพื่อให้การ ฉาบปูน+Skim Coat เสร็จในวันเดียวข้อดี
  1. Quality ได้งานที่มีคุณภาพ ลดปัญหา ผนังปูนฉาบที่เป็นคลื่น เนื่องจากผนังที่เป็นคลื่นเกิดจากกิจกรรมของการปั่น-ลงฟอง วิธีที่แนะนำตามกรรมวิธี ข้างต้น ไม่ต้องปั่น-ลงฟอง ผนังจึงไม่เป็นคลื่น
  2. Schedule งานเสร็จเร็วขึ้น เพราะไม่ต้องเสียเวลา ในการปั่น-ลงฟอง และ ไม่ต้องรอให้ผนังแห้งสนิทก่อนแต่งผิว
    ดังนั้นโครงการเสร็จเร็วขึ้น ส่งมอบให้ลูกค้าได้เร็วขึ้น
  3. Cost ลดค่าแรงในการฉาบ เพราะไม่ต้องปั่น-ลงฟอง ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการแก้งานผนังที่ฉาบแล้วเป็นคลื่นที่เกิดจากการปั่น-ลงฟอง
 
Q7. การแต่งผิว ผนังคอนกรีตผนังปูนฉาบเพื่อให้ประหยัดการทาสี  
A7.แต่งผิว(Skim Coat) ด้วย DURAMIX SC-335 ซีเมนต์ขาวผสมสำเร็จ จะได้ผิวสีขาวทำให้ประหยัดการทาสีเนื่องจากพื้นสีขาว คล้ายกับสีรองพื้นทำให้ทาสีได้เรียบร้อยได้สีสวยงามเร็วยิ่งขึ้น

หมายเหตุเนื่องจาก SC-335 ทำจากซีเมนต์ขาว จึงใช้ได้สำหรับภายใน-ภายนอก เปียกน้ำ และสัมผัสความชื้นได้ ในขณะที่ Gypsum ใช้ได้เฉพาะภายในเปียกน้ำและสัมผัสความชื้นไม่ได้
 
Q8. การปรับระดับพื้นบางๆก่อนปูพื้นด้วยไม้ลามิเนท กระเบื้องยาง ปาร์เก้ท์  
A8-1 ปรับพื้นบางๆ 1-5 มม.ใช้ปูน DURAMIX BC-310 เพื่อให้ได้ระดับที่ต้องการ
1. Set ระดับพื้นที่ต้องการ เช่น หนา 5 มม.ก็ทำการจับปุ่มฝังตะปูเกลียว/ปุ๊กตามระดับที่ต้องการ
2. ทำความสะอาดพื้นให้สะอาดปราศจากสิ่งสกปรก
3. พรม/ราดน้ำลงบนพื้นคอนกรีตเดิมให้พื้นชุ่มน้ำ
4. ผสมปูน DURAMIX BC-310 ตามคำแนะนำการใช้งาน
5. เทบนพื้นที่ต้องการปรับระดับและปาดด้วยสามเหลี่ยมทิ้งให้แห้งหมาดๆ ก่อนใช้เกรียงขัดมันแต่งให้เรียบ
6. ในวันรุ่งขึ้นให้ทำการบ่มคอนกรีตโดยการขังน้ำหรือฉีดน้ำให้ชุ่มเพื่อที่จะได้พื้นที่แกร่งยิ่งขึ้น

หมายเหตุปูน BC-310 มีแรงยึดเกาะดีและแห้งช้า
• ถ้าแต่งหน้าไม่เสร็จภายในวันเดียวสามารถแต่งหน้าบางๆให้เรียบในวันรุ่งขึ้นได้
• ถ้าต้องการให้เสร็จเร็วและต้องการให้ผิวของปูนที่ปรับระดับแล้วแกร่งยิ่งขึ้นให้ใช้ปูน Floor Hardener HD-520 หรือ ปูนผง mixed cement ทั่วไปโปรยทับหน้าปูน BC-310 เพื่อให้ปูนที่เทไว้แห้งเร็วยิ่งขึ้นก่อนทำการแต่งผิวด้วยเกรียงเหล็ก

A8-2 ปรับพื้นหนา 2-25 มม.ก่อนปูพื้นด้วยไม้ลามิเนทกระเบื้องยางปาร์เก้ท์
 
เปรียบเทียบการปรับพื้นบางๆ ด้วย Duramix BC-310 & SLM-311 (5-15 มม.)vs.การปรับพื้นด้วยปูน+ทราย (หนา 3-5 ซม.)1.1        ปรับระดับบางๆด้วยปูน DURAMIX BC-310 & SLM-311
วัสดุ (DURAMIX BC-310+SLM-311) หนา 5 มม. หนา 10 มม. หนา 15 มม.
ค่าวัสดุ 40 85 130
ค่าแรง  50 55 60
รวมค่าวัสดุ + แรง (บาท)  90 140 190
  1.2        ปรับระดับหนา 3-5 ซม. ด้วยปูน+ทรายปรับระดับ 
วัสดุปูน+ทรายปรับระดับ (ชนิดถุง) หนา 3 ซม. หนา 4 ซม. หนา 5 ซม.
ค่าวัสดุ 75 100 125
ค่าแรง 75 85 100
รวมค่าวัสดุ + แรง (บาท) 150 185 22
 หมายเหตุยังไม่ได้พิจารณาปัจจัย และต้นทุนที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ดังนี้1.      ค่าขนของและขยะ สำหรับการปรับบาง จะต่ำกว่าการปรับหนาพอประมาณ เนื่องด้วยปริมาณการใช้งานน้อยกว่า2.      ปรับบาง เสร็จเร็วกว่าปรับหนา ทำให้ส่งงานได้เร็วขึ้น และเสียค่า overhead ในการบริหารโครงการน้อยกว่า3.      Load ของการปรับบาง (0.5-1.5 ซม.) น้อยกว่าการปรับหนา (3-5 ซม.) ประมาณ 50-70 กก./ตร.ม4.      การปรับบางจะเพิ่มเนื้อที่ความสูงของห้อง ทำให้ห้องดูโปร่งกว่า

 

 
Q9. การซ่อมพื้นคอนกรีตที่ขัดเรียบ-ขัดมันซึ่งหลุดร่อน
A9.ใช้ปูน DURAMIX BC-310, Self-Leveling Mortar SLM-311, Floor Hardener แก้ไขปัญหาดังกล่าว
1. Set ระดับที่ต้องการ เช่นหนา 1 ซม.ก็ทำการจับปุ่ม จับเซี้ยม ใช้ร่องพลาสติก ฝังตะปูเกลียว/ปุ๊กตามระดับที่ต้องการ
2. ทำความสะอาดพื้นให้สะอาดปราศจากสิ่งสกปรก
3. พรม/ราดน้ำลงบนพื้นคอนกรีตเดิมให้พื้นชุ่มน้ำ
4. ผสมปูน DURAMIX BC-310 ตามคำแนะนำการใช้งานเทปูนดังกล่าวลงบนพื้น 3-5 มม ซึ่งต้องการซ่อม และปาดด้วยสามเหลี่ยมให้ทั่ว

ซ่อมพื้นขัดเรียบ

 

ซ่อมพื้นขัดมันหรือซ่อมพื้นซึ่งขัดด้วย
ปูน Floor Hardener

ในกรณีที่ซ่อมพื้นขัดหยาบหรือขัดเรียบให้เททับปูน BC-310 ตามข้อ(4)ด้วยปูน+ทรายให้ได้ระดับที่ต้องการ เช่น 1 ซม.ปาดด้วยสามเหลี่ยม ทิ้งไว้หมาดๆ แล้วใช้เกรียงไม้ขัดหยาบ-ขัดเรียบ (ถ้าเป็นการซ่อมพื้นภายนอกที่แดดร้อน/อุณหภูมิสูง ให้ผสมปูน BC-310 กับปูน+ทรายเพื่อลดการสูญเสียน้ำ/ทำให้แห้งช้า)
                                                       



 

ถ้าต้องการซ่อมพื้นขัดมัน/พื้นที่ขัดด้วยปูน Floor Hardener ให้เททับปูนBC-310 ตามข้อ (4)ด้วยปูน+ทราย เช่นหนา 1ซม. ปาดด้วยสามเหลี่ยม ในขณะที่ปูน+ทรายที่เทยังไม่แห้ง ให้ผสมปูน BC-310 ตามคำแนะนำ ปาดด้วย สามเหลี่ยมให้ทั่วและเรียบแล้วโปรยด้วยปูนผง Mixed Cement (ในกรณีซ่อมพื้นขัดมัน)หรือ Floor Hardener DURAMIX HD-520 (ในกรณีขัดด้วย Floor Hardener) ทิ้งให้แห้งหมาดๆก่อนใช้เกรียงขัดมันทำการขัดมัน/แต่งให้เรียบ 
5. ในวันรุ่งขึ้นให้ทำการบ่มคอนกรีตโดยการขังน้ำหรือฉีดน้ำให้ชุ่มเพื่อที่จะได้พื้นที่แกร่งยิ่งขึ้น
Q10. วิธีป้องกันและแก้ไขปัญหาพื้น/ผนังที่มีการรั่ว-ซึมดาดฟ้าคอนกรีต ห้องน้ำ ถังเก็บน้ำ
A10 คอนกรีตจะมีรูพรุน ภายในเนื้อคอนกรีต ซึ่งน้ำจะซึมผ่านได้ บริเวณรอยต่อของท่อ PVC กับคอนกรีตเป็นอีกบริเวณหนึ่งที่น้ำจะซึมผ่านได้ง่ายวิธีป้องกันและแก้ไข การรั่ว-ซึม1.ระบบ waterproofing system ที่ประกอบด้วย 2 components
Component (A) Polymer (DURABONDER)-มีคุณสมบัติป้องกันการรั่ว-ซึม
Component (B) Special Blended Cement (WP-B)1.1) ระบบป้องกันการรั่ว-ซึม ชนิดยืดหยุ่นสูง (Flexible Membrane) อัตราส่วน A:B:น้ำ = 1:1:0.3 ถึง 1:2:0.6
1.2) ระบบป้องกันการรั่ว-ซึม ชนิดยืดหยุ่นปานกลาง-น้อย อัตราส่วน A : B : น้ำ = 1 : 3 : 1  ถึง 1 : 4 : 1.2ผสมโดยการปั่นด้วยสว่านที่มีดอกปั่น(drilled mixer)จนเป็นเนื้อเดียวกัน ก่อนทาด้วยลุกกลิ้ง-แปรง 2-3 รอบ 
Q11. ปรับพื้นด้วยปูน Self Leveling Mortar แล้วแตก เป็นฟองอากาศ
A11 เมื่อปรับพื้นแล้ว หลังจากปูนแห้งจะเป็นรอยแตกลายงาน หรือบางครั้งก็เป็นลักษณะฟองอากาศ

เกิดจากสาเหตุ 3-4 ประการ ดังนี้
1.พื้นเดิมควรพรมน้ำให้ชุ่มชื้น แล้วปล่อยให้แห้ง ถ้าไม่พรมน้ำให้พื้นเดิมมีความชื้น อาจจะเกิดปัญหาฟองอากาศได้

2.น้ำยาประสาน C-Bonding ทาไม่ทั่วถึง หรือ ใช้น้ำยาไปผสมกับน้ำแล้วทาบนพื้น เมื่อเทปูน Self ลงบนพื้น ปูนself จะแหวกน้ำยาที่เจือจางออกจนทำให้ไม่มีน้ำยาเคลือบที่ผิว ทำให้พื้นเดิมดูดน้ำจากปูน self จึงก่อให้เกิดฟองอากาศที่ผิวปูนself ที่เทไว้

3.เมื่อทาน้ำยาประสาน 
C-Bonding ต้องรอให้น้ำยาเปลี่ยนจากสีขาว เป็น สีใส เพื่อให้น้ำยาสร้างแรงยึดเกาะที่ดี
ก่อนที่จะเทปูน self มิฉะนั่นอาจจะเกิดฟองอากาศ ที่ผิวปูนself ที่เท
ด้วยสาเหตุคล้ายกับกรณีที่ 2
4.ผสมน้ำเกินจากอัตราส่วนที่เหมาะสม ปูนself 1 ถุง ผสมกับน้ำ 5.5 -6 ลิตร ควรเทน้ำลงไปก่อนเทปูน และควรผสมแบบใช้สว่านที่มีดอดเกลียวผสมในถังสี 20 ลิตร ไม่ควรใช้น้ำเกืนกว่า 6 ลิตร เพราะจะเป็นสาเหตุทำให้มีฟองเมื่อปั่น เกิดฟองอากาศ
และถ้าผสมน้ำมากเกินไปอาจเกิดการ. Bleeding(น้ำลอยที่ผิวหน้า) ทำให้ crack ได้

2. ระบบ waterproofing system ชนิด crystallization
เหมาะสำหรับดาดฟ้าคอนกรีต หรือ ผนังที่ขัดเรียบ โดยการพ่น(spray) หรือ ทาด้วย D-CRYST ซึ่งเคมีจะทำปฏิกริยากับด่างในคอนกรีตจะได้ผลึกชนิดเดียวกับคอนกรีตจะได้คอนกรีตที่แน่น ไม่มีรูพรุน ทำให้ป้องกันการรั่ว-ซึม